
ปลาวาฬ โลจิสติกส์” คว้ารางวัลความดีตอบแทนคุณแผ่นดิน
วิเคราะห์ เทรนด์ โลจิสติกส์ ปี 2022
ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโลจิสติกส์มากมาย เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่อุตสาหกรรมโลจิสติกส์กำลังพัฒนาและเติบโตอยู่เรื่อย ๆ และน่าจับตามองว่าแนวโน้มเทรนด์โลจิสติกส์ในปี 2022 จะเป็นไปในทิศทางไหน อย่างไรก็ตามจุดสูงสุดของบริการโลจิสติกส์ คือการให้บริการอย่างครบวงจร และตอบโจทย์ทุกความต้องการในการขนส่งพร้อมดูแลการจัดส่งสินค้าให้ถึงปลายทางอย่างปลอดภัย และมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจและขับเคลื่อนให้เติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ..
1.Internet of Thing (IoT) หมายถึง เครือข่ายของสิ่งของที่มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ และเซ็นเซอร์ฝังตัวอยู่ ทำให้สามารถเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ ซึ่งเห็นได้จากเทคโนโลยีใหม่ๆ เกี่ยวกับการติดตามการขนส่งด้วย RFID, GPS มากขึ้น ซึ่งการติดตามการขนส่งได้อย่างแม่นยำจะทำให้ธุรกิจที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดสามารถจัดการส่วนต่าง ๆ ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งเรื่อง เส้นทางการขนส่ง การจัดการพนักงาน และการจัดเก็บสินค้าในโกดัง ช่วยให้การตัดสินใจแม่นยำขึ้นและประหยัดเวลาในการดำเนินการมากขึ้น
2.มีการใช้แอปพลิเคชันในการทำงานมากขึ้น
3.ใช้ระบบจัดการสต๊อก
นำระบบจัดการสต๊อกเข้ามาใช้งานในด้านโลจิสติกส์เพื่อลด Human Error จากพนักงานแพ็คสินค้า เพื่อให้ผู้ขายสามารถมองเห็นและจัดการคำสั่งซื้อจากช่องทางต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย เป็นระบบระเบียบ และแม่นยำ ลดเวลาการดูแลออเดอร์จำนวนมากที่วุ่นวาย สามารถดึงข้อมูลจากแพลตฟอร์มได้อย่างถูกต้อง 100%
4.บริหารจัดการสินค้าด้วยระบบ Fulfillment
ระบบ Fulfillment หรือคลังสินค้าครบวงจร จัดการด้วยระบบ WMS : Warehouse Management System คือ โปรแกรมในระบบคอมพิวเตอร์ ที่ช่วยในการบริหารจัดการคลังสินค้า และกระบวนการทำงานต่าง ๆ ในคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น เพิ่มความแม่นยำในการจัดเก็บสินค้า, เพิ่มความถูกต้องในการจ่ายสินค้าให้ลูกค้า, สามารถค้นหาสินค้าได้อย่างรวดเร็ว, สามารถดูจำนวนสินค้าคงคลังในปัจจุบันได้อย่างถูกต้องและทันที เพื่อการจัดส่งอย่างถูกต้อง พร้อมเช็คสถานะการจัดส่งได้ทุกขั้นตอน ทำให้ลดความผิดพลาดของการจัดส่งที่อาจจะเกิดขึ้นจากการไม่มีระบบช่วยดูแลนั่นเอง…
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: www.prosoftgps.com,
5 ข้อควรรู้ก่อนการเริ่มเช่าคลังสินค้า (Laemchabang Warehouse)
3.1 จุดขึ้นลงสินค้าแบบ Open Dock : จุดขนถ่ายสินค้า ลักษณะนี้อาจจัดการลำเลียงสินค้าได้ยากหากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย
3.2 จุดขึ้นลงสินค้าแบบ Depressed Dock : จุดขนถ่ายสินค้าลักษณะนี้มีความลาดเอียง อาจเคลื่อนย้ายสินค้าลำบากและอาจเกิดความเสียหายต่อตัวอาคาร
3.3 จุดขึ้นลงสินค้าแบบ Flush Dock : เป็นลักษณะของจุดขนถ่ายสินค้าที่พบได้บ่อยที่สุด หากคลังสินค้าให้เช่าหรือโกดังให้เช่าที่คุณสนใจมีจุดขนถ่ายสินค้าลักษณะนี้ อย่าลืมตรวจสอบด้วยว่ามีส่วนกันชนอยู่ด้านนอกเพื่อป้องกันไม่ให้รถบรรทุกเสียหายระหว่างการจอดเคลื่อนย้ายสินค้า
3.4 จุดขึ้นลงสินค้าแบบ Enclosed Dock : จุดขนถ่ายสินค้าลักษณะนี้มีที่กำบังมั่นคงแข็งแรง แต่ก็ต้องระวังในเรื่องการระบายอากาศให้ดีด้วย
อีกทั้งอย่าลืมตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันและลดความเสี่ยงระหว่างเคลื่อนย้ายสินค้า เช่น ตัวหยุดล้อและกันชน ว่าทางคลังสินค้าให้เช่าหรือโกดังให้เช่ามีอุปกรณ์เหล่านี้พร้อมหรือไม่ รวมถึงตรวจสอบจุดขนถ่ายสินค้าให้เรียบร้อยตามมาตรฐานความปลอดภัยด้วย
4. สิ่งอำนวยความสะดวกภายในคลังสินค้าให้เช่าและโกดังให้เช่า
โกดังหรือคลังสินค้า Warehouse Laemchabang
คือ สถานที่สำหรับจัดเก็บสินค้าซึ่งเป็นที่ต้องการทั้งสำหรับผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก ธุรกิจค้าปลีก และธุรกิจบริการด้านขนส่ง ซึ่งในยุคนี้ก็มีคลังสินค้าให้เช่ามากมาย โดยโกดังสินค้ามักจะเป็นอาคารขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่นอกเมืองออกไป เนื่องจากต้องการพื้นที่จำนวนมากสำหรับจัดเก็บสินค้า บางโกดังสินค้าก็จะตั้งอยู่ติดกับท่าเรือ สนามบิน หรือสถานีรถไฟเลยเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้ายและขนส่งสินค้าล็อตใหญ่ๆ ซึ่งโกดังส่วนใหญ่มักจะจัดเก็บสินค้าแบบพาเลทเป็นชั้นๆ เพื่อประหยัดพื้นที่ แล้วใช้รถโฟล์คลิฟท์สำหรับยกและเคลื่อนย้ายสินค้าได้อย่างรวดเร็ว ลองมาดูกันว่าโกดังสินค้าหรือคลังสำหรับจัดเก็บสินค้าโดยทั่วไปมีทั้งหมดกี่ประเภท และแต่ละประเภทนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
จำแนกคลังสินค้า และโกดังสินค้า 6 ประเภท
โกดังสินค้าประเภท “Private ” นี้เป็นแบบส่วนตัวซึ่งอาจดูแลจัดการโดยผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย อาจเป็นโกดังที่ตั้งอยู่ติดกับส่วนที่ผลิตสินค้าในโรงงานโดยตรงของผู้ผลิต โกดังสำหรับจัดเก็บสินค้าของผู้จัดจำหน่ายทั้งค้าส่งและค้าปลีกที่อยู่ใกล้กับร้านค้าพวกเขา ซึ่งอาจจะมีมากกว่า 1 แห่ง เนื่องจากมีสถานที่สำหรับจำหน่ายสินค้าหลายแห่งด้วยกัน
โกดังสินค้าประเภทนี้อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจซึ่งเปิดโอกาสให้บริษัทต่างๆ เข้ามาจับจองและเช่าพื้นที่สำหรับจัดเก็บสินค้าได้ตามต้องการ เป็นการสนับสนุนจากรัฐสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางภายในประเทศที่อาจมีพื้นที่สำหรับการจัดเก็บสินค้าของตนเองที่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลที่อาจมีความต้องการด้านกำลังการผลิตมากกว่าปกติ “Public “
โกดังสินค้าแบบนี้ คลังสินค้าทัณฑ์บน มีไว้สำหรับสินค้านำเข้าที่ต้องรอการตรวจสอบจากศุลกากรนั่นเอง เพราะฉะนั้น คลังสินค้าประเภทนี้ก็จะมีการดูแลจัดการโดยรัฐบาลโดยตรงสำหรับการชำระภาษีของสินค้านำเข้านั้นๆ ก่อนที่บริษัทจะสามารถดำเนินการเรื่องการขนส่งไปยังสถานที่ต่อไปได้ ทำให้ส่วนใหญ่แล้วคลังสินค้าทัณฑ์บนมักจะตั้งอยู่ตามท่าเรือหรือสนามบินเพื่อรอการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตและศุลกากรให้เรียบร้อยเสียก่อน Bonded
โกดังสินค้าประเภทนี้มักจะมีพื้นที่ขนาดใหญ่เพื่อรองรับสินค้าจำนวนมากเพื่อการกระจายสินค้าไปยังร้านค้าย่อยอื่นๆ ต่อไป โดยมีการผัดเปลี่ยนหมุนเวียนสินค้าอย่างรวดเร็วในแต่ละวัน ซึ่งศูนย์กระจายสินค้ามักจะตั้งอยู่ในโลเคชันที่สะดวกต่อการขนส่งสินค้ามายังศูนย์ของผู้ผลิตและง่ายที่จะเคลื่อนย้ายสินค้าไปยังร้านค้าปลีกย่อยเพื่อให้ไปถึงมือของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วที่สุด โดยอาจมีการนำเข้าเข้ามาภายในโกดังช่วงเช้าและส่งออกในช่วงบ่ายหรือเย็นของแต่ละวัน
โกดังประเภทนี้เป็นที่ต้องการสำหรับสินค้าที่มีความสดใหม่ที่ต้องมีการรักษาอุณหภูมิ ความชื้น หรือสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมสำหรับสินค้าชนิดนั้นๆ โดยเฉพาะ เช่น โกดังสำหรับจัดเก็บดอกไม้ ห้องเย็นสำหรับจัดเก็บอาหารสดหรืออาหารแช่แข็ง เป็นต้น
โกดังสินค้าประเภทนี้เป็นที่นิยมสำหรับธุรกิจ e-commerce ต่างๆ เนื่องจากนอกจากจะเป็นโกดังสินค้าแล้วยังทำหน้าที่ในการแพ็คสินค้าและจัดส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าอีกด้วย เหมาะกับผู้ที่อยากขายของออนไลน์โดยไม่ต้องดูแลเรื่องการสต๊อกสินค้า และจัดส่งใดๆ ทั้งสิ้น โดยเริ่มจากการที่บริษัทผู้ค้าส่งสินค้าไปยังคลังสินค้าแบบบริหารจัดการก่อน และเมื่อมีคำสั่งซื้อจากลูกค้า คลังสินค้าก็จะบริหารจัดการเรื่องการขนส่งสินค้าให้ต่อ
การมีโกดังสินค้าแบบส่วนตัวเป็นของตัวเองต้องใช้เงินทุนไม่ใช่น้อย ทำให้หลายบริษัทที่ไม่มีพื้นที่สำหรับจัดเก็บสินค้าที่เพียงพอหันมาเลือกใช้บริการโกดังให้เช่าเป็นตัวช่วย เพราะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพื้นที่และการก่อสร้างได้ แถมยังมีโลเคชั่นที่ดีสำหรับการขนส่งและเคลื่อนย้ายสินค้าอีกด้วย
โดย บริษัท ปลาวาฬ โลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้มีบริการ ให้เช่าโรงงาน คลังสินค้า หรือ เขตพื้นที่ปลอดอากร (Free zone) พร้อมไว้สำหรับบริการลูกค้าทั้งสิ้น โดยจุดเด่นของเราคือในเรื่อง ของทำเลที่ตั้งใกล้ท่าเรือแหลมฉบัง และเป็นเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษ EEC สนใจข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.whale-logistics.com
EXW: Ex Work
Delivery Point: ผู้ขายวางสินค้าให้ผู้ซื้อม
Risk Point: ผู้ซื้อรับความเสี่ยงต่อการ
Cost Point: ผู้ซื้อชำระค่าใช้จ่ายทั้งห
Customs Clearance Point: ผู้ชื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการข
FCA: Free Carriage
Delivery Point: ผู้ขายส่งมอบสินค้าบนพาหนะข
Risk Point: ผู้ซื้อรับความเสี่ยงต่อการ
Cost Point: ผู้ซื้อชำระค่าใช้จ่ายทั้งห
Customs Clearance Point: ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขา
(ผู้ขายให้ความช่วยเหลือด้านเอกสารแล
CPT: Carriage Paid To
Delivery Point: ผู้ซื้อรับมอบสินค้าจากผู้ข
Risk Point: ผู้ซื้อรับความเสี่ยงต่อการ
Cost Point: ผู้ขายชำระค่าใช้จ่ายทั้งหม
Customs Clearance Point: ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขา
CIP: Carriage and Insurance Paid To
Delivery Point: ผู้ซื้อรับมอบสินค้าจากผู้ข
ผู้ซื้อรับสินค้าจากผู้รับข
Risk Point: ผู้ซื้อรับความเสี่ยงทั้งหม
Cost Point: ผู้ขายชำระค่าใช้จ่ายทั้งหม
ผู้ขายต้องทำสัญญาประกันภัย
Customs Clearance Point: ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขา
Warehouse Logistics laemchabang
หน้าที่หลักๆ ของคลังสินค้า ก็คือ การจัดเก็บรักษาวัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จรูปต่างๆ ไม่ว่าจะมีวัตถุประสงค์ เพื่อรอเข้าสู่กระบวนการผลิตหรือรอจัดจำหน่ายไปยังตลาด นอกจากนั้นคลังสินค้ายังมีหน้าที่จัดเก็บรักษาสินค้า ในกรณีที่สินค้านั้นไม่ถูกกระจายออกไป หรือมีจำนวนคำสั่งซื้อที่ไม่เหมาะสมหรือเป็นสินค้าคงคลังนั่นเอง
คลังสินค้าจะทำหน้าที่ในการจัดเก็บสำรองวัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จรูปในปริมาณที่เหมาะสม บางครั้งการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ของตลาด รวมถึงฤดูกาล อาจทำให้สินค้าขาดแคลน หรือผลิตไม่ทัน จึงต้องมีการผลิตสินค้ามาเก็บไว้ในคลังสินค้าจำนวนมากเพื่อป้องกันสินค้าขาดแคลน และเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดหรือลูกค้าได้
ในกรณีที่คลังสินค้าตั้งอยู่ใจกลางเมืองหรือรอบๆ ชานเมือง ซึ่งใกล้กับแหล่งตลาดที่มีลูกค้าหรือผู้บริโภคจำนวนมาก ในการจัดส่งสินค้าอาจมีต้นทุนค่าขนส่งที่สูง หากสินค้าอยู่ไกลกับผู้บริโภค ดังนั้นคลังสินค้าที่ตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งลูกค้า จึงช่วยประหยัดต้นทุนค่าขนส่งได้เป็นอย่างดี
คลังสินค้าเป็นสถานที่ที่ช่วยสร้างความได้เปรียบในด้านการแข่งขัน ทั้งในด้านของปริมาณ เวลา การขนส่ง โดยสามารถเตรียมความพร้อมที่จะให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง
คลังสินค้าทำหน้าที่รวบรวมหรือจัดเก็บวัตถุดิบในการผลิต ไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วน หรือส่วนประกอบต่างๆ เพื่อป้อนให้กลับโรงงานอุตสาหกรรม ในการผลิตสินค้าสำเร็จรูปลำดับต่อไป จึงช่วยลดต้นทุนในการจัดเก็บสินค้า
หากอุตสาหกรรมหรือบริเวณรอบๆ โรงงาน มีพื้นที่จำกัด ไม่สามารถจัดเก็บสินค้าหรือวัตถุดิบได้ในปริมาณที่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องมองหาคลังสินค้าที่อยู่นอกโรงงานหรือเช่าคลังสินค้า เพื่อใช้ในการจัดเก็บสินค้าหรือจัดเก็บวัตถุดิบนั่นเอง
หากแหล่งที่ตั้งของโรงงานผลิตสินค้าอยู่ไกลจากลูกค้า นอกจากการมองหาคลังสินค้าที่อยู่ใกล้กับแหล่งผู้ซื้อจะช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งแล้ว ยังช่วยให้สามารถส่งสินค้าได้ทันเวลาอีกด้วย
หากผู้ซื้อหรือลูกค้าต้องการสินค้าจำนวนมาก แต่โรงงานหรือธุรกิจไม่สามารถผลิตสินค้าออกมาได้เพียงพอ เนื่องจากไม่มีแหล่งจัดเก็บสินค้า ดังนั้นคลังสินค้าจึงช่วยเก็บสินค้าและกระจายสินค้าให้กับลูกค้าได้ตาม Order ที่ต้องการ จึงช่วยตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อนั่นเอง
คลังสินค้าเป็นแหล่งเก็บสินค้าหรือพักสินค้าชั่วคราว ในกรณีที่ต้องการส่งสินค้าไปยังต่างประเทศอีกต่อหนึ่ง ในลักษณะของ Re-Export
กรณีที่ลูกค้าต้องการสั่งสินค้าจำนวนไม่มาก โดยมีขนาดหีบห่อหรือพาเลทเล็กลง ซึ่งหากเก็บสินค้าไว้ในโรงงานอุตสาหกรรม อาจทำให้สิ้นเปลืองพื้นที่ แต่คลังสินค้าสามารถช่วยตอบโจทย์นี้ได้ดี โดยสามารถช่วยแบ่งสินค้าให้มีขนาดเล็กลงได้ อีกทั้งยังสามารถช่วยให้คุณแยกประเภทสินค้าได้ด้วย โดยมีที่จัดเก็บสินค้ามากขึ้นนั่นเอง
Import-Export trend
ภาพรวมการส่งออกครึ่งปีแรกของปี 2564 (มกราคม-มิถุนายน) มีมูลค่าอยู่ที่ 132,334 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 15.53% การนำเข้ามีมูลค่าอยู่ที่ 129,895 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 26.15% ไทยได้ดุลการค้าครึ่งปีแรกอยู่ที่ 2,439 ล้านเหรียญสหรัฐ
In this paragraph
สำหรับแนวโน้มการส่งออก Import-Export trend ในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2564 ยังมองว่าอาจจะมีปัญหาเรื่องของโควิด-19 ที่กระทบภาคการผลิตโดยเฉพาะกลุ่มโรงงานที่ปิดตัว ในประเด็นนี้เห็นว่าอาจจะต้องพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสมเพื่อให้การผลิตยังคงเดินหน้าเพื่อการส่งออกไปได้ ซึ่งจะมีการนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในสัปดาห์หน้า ส่วนกรณีปัญหาเรื่องของการขาดแคลนแรงงาน ใบขึ้นทะเบียนแรงงานหมดอายุ และการกระจายวัคซีนให้กับกลุ่มแรงงาน ได้มีการหารือกับที่ประชุม ครม. เพื่อแก้ไขปัญหาแล้ว ทั้งนี้ เชื่อว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเร่งแก้ไขปัญหาต่อไปอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ภาคการผลิตยังคงเดินหน้าต่อไปได้
อย่างไรก็ดี สำหรับการผลักดันการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังจากนี้ Import-Export trend กระทรวงพาณิชย์พร้อมร่วมมือกับภาคเอกชนในรูปแบบ กรอ.พาณิชย์ ที่จะดันการค้า การส่งออกให้ขยายตัวได้ตามเป้าหมาย นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรม 130 กิจกรรมในการส่งเสริมการส่งออกทั้งการเจรจาการซื้อ-ขาย เป็นต้น ขณะนี้พบว่าเกิดมูลค่าการซื้อ-ขายล่วงหน้าแล้วอยู่ที่ 20,000 ล้านบาท โดยก็เป็นความร่วมมือกันทุกฝ่ายรวมไปถึงเซลส์แมนจังหวัดและเซลส์แมนประเทศด้วย
นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวว่า การส่งออกของไทยที่ขยายตัวเป็นผลมาจาก การส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยาง สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เฟอร์นิเจอร์ สินค้าเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ ถุงมือยาง สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นตัวของภาคการผลิต เช่น เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า และสินค้าคงทนหรือสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีราคาสูง เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น
นอกจากนี้ ตลาดส่งออกสำคัญ “Import-Export trend” ก็ขยายตัวเกือบทุกตลาด เช่น สหรัฐ ยุโรป จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน รวมไปถึงกลุ่มตลาดอาเซียน ที่การส่งออกโตต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากดูมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม ขยายตัว 36% ขยายตัว 7 เดือนต่อเนื่อง สินค้าที่ขยายตัวได้ดี เช่น ยางพารา ขยายตัว 111.9% ขยายตัว 9 เดือนต่อเนื่อง ผัก ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ขยายตัว 110.2% ขยายตัว 3 เดือนต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัว 81.5% ขยายตัว 8 เดือนต่อเนื่อง ส่วนสินค้าที่หดตัว เช่น อาหารทะเลสด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป หดตัว 3.6% สินค้าปศุสัตว์ หดตัว 40.1% ในช่วงครึ่งปีแรก การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 11.9%
การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว 44.7% ขยายตัว 4 เดือนต่อเนื่อง สินค้าที่ขยายตัวไปได้ดี เช่น รถยนต์และส่วนประกอบ ขยายตัว 78.5% ขยายตัว 8 เดือนต่อเนื่อง อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัว 114.3% ขยายตัว 4 เดือนต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัว 38.1% ขยายตัว 13 เดือนต่อเนื่อง สินค้าที่หดตัว เช่น อากาศยานและส่วนประกอบ 63.5% ปูนซีเมนต์ หดตัว 30.3% ในช่วงครึ่งปีแรก การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว 15.9%
อย่างไรก็ดี แนวโน้มการส่งออกของไทยยังขยายตัวไปได้ดี สะท้อนจากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเรื่องเป็นเดือนที่ 6 รวมไปถึงราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น หลังมีมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์โดยเฉพาะตลาดอาเซียน การกระจายวัคซีนของแต่ละประเทศ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมา ซึ่งคาดว่าเป็นผลดีต่อการส่งออกไทย
นอกจากนี้ ไทยยังมีกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกต่อเนื่อง เช่น การจัดงานส่งเสริมผลไม้ไทยในเมืองสำคัญของจีน การปรับกลยุทธ์การส่งออกตามแนวคิด BCG Model การส่งเสริมการส่งออกในภาคอุตสาหกรรมดิจิทัล สามารถสร้างมูลค่าการซื้อขายทางธุรกิจถึง 1,586 ล้านบาท เป็นต้นจึงเชื่อว่าการส่งออกจากนี้จะยังคงเติบโตตามปัจจัยเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าของไทยต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Matichon
ปลาวาฬ โลจิสติกส์” คว้ารางวัลความดีตอบแทนคุณแผ่นดิน
Logistics leamchabang ให้บริการเช่าคลังสินค้าและบริการขนส่งทุกรูปแบบใกล้ท่าเรือสินค้าแหลมฉบังและมีบริการเคลียร์สินค้า นำเข้าและส่งออก
นายธีรจิตร สอนแจ้ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปลาวาฬ โลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ในเครือ Whale Group ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ครบวงจร ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ Answer News Industrial Magazine ว่า ล่าสุด บริษัทได้รับโล่และประกาศเกียรติคุณรางวัลความดีตอบแทนคุณแผ่นดิน สาขาบริหารและพัฒนาธุรกิจ จากพลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข องคมนตรี/เลขาธิการมูลนิธิพระดาบส ประธานในพิธีมอบรางวัล โดยเป็นปีแรกที่บริษัทเข้าร่วมประกวดและได้รับพิจารณาคัดเลือกให้ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณดังกล่าว
สำหรับรางวัลความดีตอบแทนคุณแผ่นดิน และรางวัลบุคคลตัวอย่างแห่งปี ประจำปี 2564 จากโครงการหนึ่งล้านกล้าความดีตอบแทนคุณแผ่นดิน ซึ่งจัดขึ้นโดยมูลนิธิเพื่อสังคมไทย มีวัตถุประสงค์สร้างกำลังใจให้บุคคลและหน่วยงานที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในกรอบของคุณความดี มีวินัย มีความสามารถในการแข่งขัน และเป็นแบบอย่างที่ดีของบุคคลทั่วไปในการร่วมกันยกระดับสังคมไทยให้มีความน่าอยู่ มีความมั่นคง มั่งคั่ง สืบไป ณ หอประชุมกองทัพอากาศ กรุงเทพมหานคร
นายธีรจิตรกล่าวต่อว่า การเข้าร่วมประกวดรางวัลดังกล่าว มีวัตถุประสงค์มาจากนโยบายของบริษัทนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในการมุ่งมั่นเป็นองค์กรที่ดำเนินธุรกิจภายใต้หลักธรรมาภิบาลและมีการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพภายใต้มาตรฐานสากล ซึ่งบริษัทดำเนินการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตอบโจทย์การให้บริการที่มีประสิทธิภาพและครบวงจร สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้ามากที่สุด
ขณะเดียวกัน บริษัทยังได้ให้ความสำคัญในการดูแลและมีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ชุมชน โดยได้มีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการจัดกิจกรรมเป็นประจำในทุกๆ ปี อาทิ การจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน ทั้งการมอบทุนการศึกษาให้กับโรงเรียนในพื้นที่ การแจกข้าวสารให้กับคนในชุมชน และการส่งมอบหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลในพื้นที่ เป็นต้น
“ด้วยการดำเนินธุรกิจและกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ ที่ปฏิบัติอยู่ เราอยากทราบว่าสิ่งที่ได้ยึดมั่นมาถูกต้องและไปในทิศทางเดียวกันกับผู้ประกอบการทั่วประเทศ จึงได้มีตั้งทีมงานเพื่อดำเนินการตรวจสอบภายใน (Internal Auditing) ก่อนที่จะเข้าร่วมประกวดรางวัลกับหน่วยงานภายนอก ซึ่งการได้รับรางวัลต่างๆ ล้วนแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการมุ่งมั่นตั้งใจได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ การได้รับรางวัลยังเป็นสิ่งสำคัญที่สร้างความภาคภูมิใจและแรงบันดาลใจในการทำความดีเพื่อสังคมให้กับบุคลากรของเรา ตลอดจน ก่อให้เกิดความรักสามัคคีและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติงาน ซึ่งจะนำไปสู่การเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน อีกทั้ง ยังได้รับความชื่นชมสร้างความเชื่อมั่นให้กับพาร์ทเนอร์และลูกค้าที่ทำธุรกิจร่วมกับเราด้วย” นายธีรจิตรกล่าว
ส่วนการเข้าร่วมรับการประเมินและการประกวดรางวัลต่างๆ บริษัทได้เล็งเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีความท้าทายทั้งต่อบริษัทและทีมงานที่ร่วมกันดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง พัฒนา ให้ตรงตามเกณฑ์มาตรฐานรางวัลนั้นๆ ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวเป็นเกณฑ์ที่ได้รับการวิเคราะห์จากผู้ทรงคุณวุฒิ จึงทำให้มีความน่าเชื่อถือเป็นมาตรฐานเดียวกัน บริษัทจะศึกษาและเข้าร่วมประกวดอย่างต่อเนื่องในรางวัลหรือมาตรฐานที่ตรงกับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่
สำหรับวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจโลจิสติกส์ นายธีรจิตรกล่าวว่า ได้กำหนดแผนธุรกิจของ Whale Group ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการจัดตั้งเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของทางรัฐบาลไทย และสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงการทำธุรกิจของโลกหลังจากยุคหลังโควิด ปัจจัยที่ทำให้ Whale Group เติบโตอย่างต่อเนื่องถึงแม้ว่าจะเผชิญวิกฤติ COVID-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 จนถึงปัจจุบัน คือการให้บริการโลจิสติกส์ที่ครบวงจร ตั้งแต่การให้บริการคลังสินค้าที่มีมากกว่า 200,000 ตารางเมตรในปัจจุบัน ทั้งในรูปแบบเขตปลอดอากร (Free zone) และพื้นที่ทั่วไป (General Zone) ครอบคลุมตั้งแต่ลูกค้า B2B จนถึง B2C ทั้งในและต่างประเทศ และด้วยระบบ Warehouse Management System (WMS) ที่ทาง Whale Group ได้พัฒนาขึ้นมาเอง สามารถตอบโจทย์กับลูกค้าในทุกกลุ่มอุตสากรรม และช่วยอำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการคลังสินค้า และความแม่นยำของสินค้าคงคลังของลูกค้าในปัจจุบัน ปัจจัยเสริมอีกด้านหนึ่งของ Whale Group คือการให้บริการรถขนส่งหลากหลายประเภทตั้งแต่ Door to Door Services จนถึง Cross Border Delivery ด้วยจำนวนรถที่มีมากกว่า 200 คันในปัจจุบัน รวมถึงการสร้าง Technology Platform ในการบริหารกองรถและทีมงานคนขับรถ ในด้านคุณภาพและความปลอดภัยที่ใช้ภายในองค์กร และส่วนสุดท้ายคือการที่ Whale Group เป็นผู้ให้บริการตัวแทนนำเข้าและส่งออกสินค้าทุกประเภทให้กับลูกค้า ตั้งแต่ลูกค้าในรูปแบบองค์กร SME และผู้ขายสินค้าผ่านช่องทาง E-commerce และ Online ในปัจจุบัน
นายธีรจิตรกล่าวต่อถึงแผนการดำเนินธุรกิจในปีนี้ว่า logistics leamchabang อยู่ระหว่างการก่อสร้างลานวางตู้คอนเทนเนอร์ ลานจอดรถ Import – Export และคลังสินค้าขนาดใหญ่ ทั้งหมดนี้อยู่บนพื้นที่กว่า 50 ไร่ ล่าสุดมีความคืบหน้าแล้วกว่า10% และคาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณเดือนกันยายน 2564 โดยจะมีรูปแบบการบริหารจัดการเขตปลอดอากรตามมาตรฐานสากล และสามารถรองรับสินค้าได้หลากหลายประเภท นอกจากนี้ ยังมีคลังสินค้าขนาดใหญ่ที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีกหนึ่งแห่ง มีความคืบหน้าแล้วประมาณ 20% คาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2564 ซึ่งจะทำให้ Whale Group มีพื้นที่คลังสินค้ารวมทั้งสิ้นกว่า 300,000 ตารางเมตร
โดยทั้งสองโครงการฯ ดังกล่าวข้างต้น มีจุดเด่นในเรื่องของทำเลที่ตั้งใกล้กับท่าเรือแหลมฉบัง นอกจากนี้ บริษัทยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในการอำนวยความสะดวกและประสานงานกับสายการเดินเรือให้ลูกค้าอีกด้วย ซึ่งจะสามารถตอบโจทย์ลูกค้าที่มีการนำเข้าและส่งออกสินค้าให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
ด้านแนวโน้มในการดำเนินธุรกิจในครึ่งปีหลัง Whale Group ยังคงเดินหน้าขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบันภาพรวมกลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยปัจจัยหนุนจากภาคการผลิต การค้า การลงทุนของภาครัฐและเอกชน ตลอดจนปริมาณผลผลิตสินค้าทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการกระจายสินค้าเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ต่างๆ ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ การเดินหน้าขยายการลงทุนจึงเป็นสิ่งที่มีความท้าทายสำหรับคณะผู้บริหารเป็นอย่างมาก ในการวิเคราะห์ กำหนดกลยุทธ์ และวางแผนการดำเนินธุรกิจให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด ควบคู่กับการเพิ่มปริมาณการให้บริการลูกค้า และการเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดให้มากขึ้น
นายธีรจิตรกล่าวต่อถึงหลักในการทำงานและบริหารงานว่า ตนมีความทุ่มเทในการทำงานอย่างเต็มที่ โดยใช้กระบวนการหรือวิธีการต่างๆ ที่ตนได้คิดและทดลองปฏิบัติจนเกิดผลสำเร็จ แล้วจึงนำไปถ่ายทอดให้กับทีมงานนำไปปฏิบัติตาม เพื่อให้บริษัทเกิดการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้ง ส่งมอบความจริงใจให้กับลูกค้าและพันธมิตรทางการค้าที่จะร่วมเติบโตและได้ประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย (All Win) ตามคำขวัญของ องค์กรที่ว่า “Stay with Whale”
“ทุกความสำเร็จที่เกิดขึ้นล้วนเป็นความภูมิใจของเราที่ได้ตั้งใจร่วมกันทำอย่างสุดความสามารถ การระดมความคิดเห็น การเสนอมุมมองต่างๆ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ มีการวางแผนงานที่ดี ร่วมกันแก้ไขในสิ่งที่ผิดพลาด เพื่อดูแลสินค้าของลูกค้าให้ดีที่สุด ไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดความเสียหายต่อสินค้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เราได้รับความเชื่อใจและสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี” นายธีรจิตรกล่าว
ในด้านการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรของบริษัทให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพในการทำงานตามวิสัยทัศน์ของบริษัท “Whale Group คือ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ครบวงจรระดับโลก” ด้วยจำนวนบุคลากรในปัจจุบันที่มีจำนวนมากทั้งภายในและการจัดจ้างคนภายนอก จึงทำให้บริษัทจะต้องสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติงานไปในทิศทางเดียวกัน
บริษัทได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรเป็นอย่างมาก มีการจัดอบรมและสัมมนากับวิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภายนอก รวมทั้งมีการเชิญวิทยากรมาสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากร ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้บริหารและทีมงาน จึงทำให้บริษัทเกิดการพัฒนา มีการปรับปรุงและแก้ไขในเรื่องที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาในอนาคต ซึ่งเมื่อพนักงานเกิดความรู้และมีความเข้าใจที่ตรงกัน ก็จะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่
นอกจากนี้ Whale Group ยังมีมาตรฐานสากลที่ใช้เป็นหลักปฏิบัติงานและควบคุมคุณภาพ ในทุกกระบวนการทำงาน อาทิ มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ หรือ ISO 9001 , ได้ผ่านการรับรอง GMP (Good Manufacturing Practice) เป็นต้น ซึ่งบริษัทยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนามาตรฐานและยื่นเสนอขอรับการรับรองต่างๆ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายธีรจิตรกล่าวปิดท้ายว่า ขอขอบคุณ Answer News Industrial Magazine ที่ให้เกียรติ Whale Group ได้นำเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหว รวมทั้งผลงานการันตีคุณภาพต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมได้รู้จัก Whale group มากยิ่งขึ้น ตลอดจนขอขอบพระคุณพันธมิตรทางธุรกิจทุกรายที่เป็นส่วนหนึ่งในการเติบโตและร่วมก้าวไปสู่ความสำเร็จด้วยกัน logistics leamchabang
logistics leamchabang การระบาดใหญ่และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ไม่สม่ำเสมอทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลน ‘ตู้คอนเทนเนอร์’ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ ‘ต้นทุนการขนส่ง’ พุ่งสูงขึ้น และแถมยังทำให้สินค้าที่มาจากจีนนั้นยิ่งมาถึงช้าเพิ่มไปอีก และไม่แค่กับเอเชีย แต่ปัญหานี้กำลังลุกลามไปทั่วโลก
หลายบริษัทที่หมดหวัง เนื่องจากการรอสินค้านานหลายสัปดาห์ และยังจ่ายเงินในอัตราพิเศษเพื่อหาตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งทำให้ค่าขนส่งพุ่งสูงขึ้น โดยปัญหาดังกล่าวนั้นกระทบต่อทุกคนที่ต้องขนส่งสินค้าจากประเทศจีน แต่โดยเฉพาะบริษัทอีคอมเมิร์ซ ซึ่งนั่นทำใหเผู้บริโภคอาจต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น
ในเดือนธันวาคมอัตราค่าขนส่งสินค้าพุ่งสูงขึ้น 264% สำหรับเส้นทางเอเชียไปยุโรปเหนือเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่เส้นทางจากเอเชียไปยังชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกาอัตราจะเพิ่มขึ้น 145% ทุกปี Mirko Woitzik ผู้จัดการโซลูชันข่าวกรองความเสี่ยงของ Resilience36 บริษัทความเสี่ยงด้านซัพพลายเชน ระบุ
Cr.www.pexels.com/
เมื่อเทียบกับราคาที่ต่ำลงในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา อัตราค่าขนส่งจากจีนไปยังสหรัฐฯ และยุโรปพุ่งขึ้น 300% จากปกติที่ 1,200 ดอลลาร์สหรัฐเป็น 6,000 ดอลลาร์สหรัฐ Mark Yeager ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Redwood Logistics กล่าว
“มีตู้คอนเทนเนอร์ประมาณ 180 ล้านตู้ทั่วโลก แต่มันอยู่ผิดที่ ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นคือ ดุลการค้าในจีนได้เปลี่ยนไปแล้วรุนแรงขึ้นอย่างมากและความจริงก็คือ มีตู้คอนเทนเนอร์สามตู้สำหรับทุกตู้สินค้าที่เข้ามา” Yeager จาก Redwood Logistics กล่าว
อีกสิ่งที่ทำให้เรื่องแย่ลงคือ คำสั่งซื้อตู้คอนเทนเนอร์ใหม่ส่วนใหญ่ถูกยกเลิกในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2020 เนื่องจากทั่วโลกส่วนใหญ่เข้าสู่การมาตรการ Lock Down Alan Ng ผู้นำการขนส่งและโลจิสติกส์ของจีนแผ่นดินใหญ่ PWC และฮ่องกงระบุ
“ขนาดและจังหวะของการฟื้นตัวทำให้ทุกคนประหลาดใจ ปริมาณการค้าที่ฟื้นตัวอย่างกะทันหันทำให้สายการเดินเรือหลักเกือบทั้งหมดจำเป็นต้องเพิ่มความจุตู้สินค้าจำนวนมากเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์”
ปัญหาการขาดแคลนยังทวีความรุนแรงขึ้นอีก เนื่องจากปริมาณเที่ยวบินระหว่างประเทศลดลงเพราะการระบาดของ COVID-19 และข้อจำกัดในการเดินทาง และเมื่อการขนส่งสินค้าทางอากาศที่จำกัด สินค้ามูลค่าสูงบางรายการที่ปกติจะจัดส่งทางอากาศเช่น iPhone ต้องใช้ตู้คอนเทนเนอร์ทางทะเลแทนตามข้อมูลของ Yeager
วิกฤตตู้คอนเทนเนอร์ส่งผลกระทบต่อทุก บริษัทที่ต้องขนส่งสินค้า แต่นักวิเคราะห์กล่าวว่า สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลอย่างเด่นชัดต่ออีคอมเมิร์ซที่ขายสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นหลัก เนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่ผลิตในจีน การดำเนินงานของ Ikea ในสิงคโปร์เรียกสิ่งนี้ว่า “วิกฤตการขนส่งทั่วโลก” โดยยักษ์ใหญ่เฟอร์นิเจอร์คาดว่าสินค้าประมาณ 850 รายการจาก 8,500 รายการที่จำหน่ายในสิงคโปร์จะได้รับผลกระทบจากความล่าช้าในการจัดส่ง ซึ่งมันมีผลต่อการวางจำหน่ายและโปรโมชั่นที่วางแผนไว้
“ความต้องการบริการด้านโลจิสติกส์ที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกในเวลานี้ ส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนตู้สินค้าทั่วโลก” logistics leamchabang
ทั้งนี้ รายงานของ Shanghai International Shipping Research Center ที่เผยแพร่ในไตรมาส 4 ปี 2020 ระบุว่าปัญหาการขาดแคลนมีแนวโน้มที่จะคงอยู่ไปอีก 3 เดือนเป็นอย่างน้อย ในขณะที่มีการสั่งซื้อตู้คอนเทนเนอร์ใหม่จะยังไม่พร้อมใช้งานในทันที อีกทั้ง การสร้างตู้คอนเทนเนอร์ก็อาจเกิดความล่าช้าได้ เพราะการระบาดใหญ่ยังส่งผลกระทบต่อเหล็กและไม้ที่จำเป็นในการสร้างตู้คอนเทนเนอร์
การค้าระหว่างประเทศกำลังฟื้นตัวและแข็งแกร่งมากขึ้นตามลำดับ ส่งสัญญาณน่ายินดีไปยังผู้ผลิตเพื่อส่งออก รวมทั้งเศรษฐกิจโลก
แต่แล้วอุปสรรคสำคัญก็ปรากฏ ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา และยิ่งชัดเจนมากขึ้นในขณะนี้ ถึงขั้นที่หลายคนบอกว่านี่คือวิกฤตในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ระดับโลก ที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในหลายประเทศ และดิสรัปต์พื้นฐานการค้าระหว่างประเทศอย่างสำคัญ
ภาวะขาดแคลนคอนเทนเนอร์ เห็นได้ชัดเจนจากการขึ้นค่าระวางขนส่งเมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา จากเดิมซึ่งอยู่ที่ราว 1,500 ดอลลาร์ ต่อตู้คอนเทนเนอร์ เป็นระหว่าง 6,000-9,000 ดอลลาร์ต่อตู้ logistics leamchabang
เส้นทางเดินเรือขนส่งสินค้าสายฟาร์อีสต์-ยุโรป ในเวลานี้ คิดค่าระวางขนส่งสูงถึงกว่า 9,000 ดอลลาร์ต่อตู้ ขณะที่การขนส่งสายทรานส์แอตแลนติก กับทรานส์แปซิฟิก ก็เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ยังส่งผลให้ผู้ผลิตตู้คอนเทนเนอร์ใหม่ขึ้นราคาตามไปด้วย ผู้ผลิตในจีนซึ่งครองตลาดในอุตสาหกรรมผลิตตู้คอนเทนเนอร์ของโลกอยู่ในเวลานี้ ปรับราคาจาก 1,600 ดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว ขึ้นมาเป็น 2,500 ดอลลาร์ต่อตู้คอนเทนเนอร์ใหม่ 1 ตู้
เช่นเดียวกัน ในช่วง 6 เดือนหลังมานี้ ต้นทุนในการ “เช่า” ตู้คอนเทนเนอร์ ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 50%
ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงระบุว่า วิกฤตคอนเทนเนอร์ครั้งนี้เกิดขึ้นด้วยสาเหตุหลัก ๆ 4 ประการ ทั้งหมดล้วนเป็นผลกระทบจากโควิด ที่ทำให้การค้าโลกถึงกับชะงักงันเมื่อปีที่ผ่านมาเป็นสำคัญ
ผลกระทบจากการระบาดทำให้จำนวนตู้คอนเทนเนอร์ที่พร้อมใช้มีน้อยลง ประการถัดมา คือ ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดสินค้าตกค้างอยู่ตามท่าเรือปลายทางจนแออัด เพราะขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก ทั้งแรงงานประจำท่าเรือ, แรงงานประจำคลังสินค้า แม้แต่เจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรก็ได้รับผลกระทบ ถูกระงับการทำงานไปเป็นจำนวนมาก ประการที่สาม จำนวนเรือขนส่งสินค้ามีจำนวนลดน้อยลง
ประการสุดท้าย เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อปลายปีที่แล้ว เมื่อผู้คนในตลาดสำคัญ ๆ ของโลก อย่างสหรัฐและจีน เริ่มคลายกังวลกับการระบาด ความต้องการสินค้าก็พุ่งสูงขึ้น อาการแย่งชิงคอนเทนเนอร์ระหว่างผู้ส่งออกเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
ปัญหาขาดแคลนแรงงานมหาศาลที่เกิดขึ้นในสหรัฐตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา เพราะโควิด ทำให้คอนเทนเนอร์ที่ส่งสินค้าจากเอเชียไปกองค้างเติ่งอยู่ที่นั่น ภาวะการค้าที่ตกต่ำทำให้แม้แต่บริษัทชิปปิ้งเองก็ไม่ใส่ใจที่จะเคลียร์ของจากตู้คอนเทนเนอร์แล้วปล่อยให้ตู้ขนส่งสินค้าเปล่าเดินทางกลับสู่เอเชีย
ผลก็คือ เกิดสิ่งที่เรียกกันว่า “คอนเทนเนอร์ อิมบาลานซ์” ขึ้น
ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ล่าช้า หรือ ขาดแคลนนี้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมแตกต่างกันไป สินค้าประเภทที่มีมูลค่าสูงอย่าง เครื่องจักรวิศวกรรม, ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ได้รับผลกระทบน้อยมาก แต่สินค้าในหมวดอื่น ๆ เช่น อาหารหรือผลไม้และผลผลิตด้านการเกษตร หรือสินค้าสิ่งทอ ซึ่งมีมาร์จิ้นน้อย จะได้รับผลกระทบสูง
logistics leamchabang
“Whale Logistics leamchabang”ให้บริการเช่าคลังสินค้าและบริการขนส่งทุกรูปแบบใกล้ท่าเรือสินค้าแหลมฉบังและมีบริการเคลียร์สินค้า นำเข้าและส่งออก